กุ้งเครฟิช

กุ้งเครฟิช เป็นกุ้งสีแดงก่ำที่เรียกกันว่ากุ้งแดงญี่ปุ่น เป็นสายพันธุ์กุ้งน้ำจืด ชอบอยู่แหล่งสะอาด จัดเป็นสัตว์น้ำเลี้ยงสวยงาม เริ่มมีคนให้ความสนใจเลี้ยงกุ้งเครฟิชมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการเลี้ยงนก ปลา หมา แมว ที่เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตลอดกาล ในบทความนี้จะมาพูดถึงที่มาของกุ้งเครฟิช ลักษณะโดยทั่วไป รวมถึงวิธีการเลี้ยงกุ้งเครฟิชที่ถูกต้อง

กุ้งเครฟิช

ลักษณะโดยทั่วไปกุ้งเครฟิช

กุ้งเครฟิช (Crayfish) หรือที่หลายท่านเรียกว่ากุ้งก้ามแดง เป็นหนึ่งในสายพันธุ์กุ้งน้ำจืด มีก้ามที่ใหญ่ และแข็งแรงกว่ากุ้งสายพันธุ์อื่น มีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายไปทั่วทุกมุมโลก มีการแบ่งประเภทกว่า 500 ชนิด กุ้งเครฟิชมีร่างกายที่สามารถแบ่งออกได้ 3 ส่วนคือ ส่วนหัว ส่วนขา และส่วนท้องกุ้งเครฟิชที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาตินั้นต้องการแหล่งน้ำที่สะอาด และมีออกซิเจนสูง สามารถพบได้ทั้่วไปตามโขดหิน กิ่งไม้ เพราะเป็นกุ้งที่มีนิสัยชอบซ่อนตัว และเพื่อป้องกันตัวเองจากสัตวืน้ำประเภทอื่น

กุ้งเครฟิชชนิดแรกที่นำเข้ามาในเมืองไทยนั้นเป็นกุ้งสีแดงก่ำที่เราเรียกกันว่า “กุ้งแดงญี่ปุ่น” ตัวนี้มีราคาไม่แพง หลักสิบปลายๆ หรือหลักร้อยต้นๆ มีให้เห็นในตลาดจนชินตา หลังๆ จึงมีการนำเข้ากุ้งสีใหม่ๆ จากต่างประเทศ มาเพาะพันธุ์ และนำออกมาจำหน่ายให้เห็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกุ้งสีขาว ปลอดอย่าง “สโนว์” สีฟ้าสดอย่าง “บลูอัลเลนี่” หรือสีส้มแบบ“เอพริคอต” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้กลายเป็นกุ้งที่มีหลายสีในตัวเดียว อย่างเช่น“กุ้งโกสต์”ที่มีพื้นลำตัวสีขาวและแต้มด้วยสีแดงกับฟ้า ซึ่งลวดลาย ของแต่ละตัวนั้นก็จะไม่ซ้ำกันเลย แต่กุ้งสีแปลกๆ ที่เพิ่งออกขายนั้นจะมีราคา ค่อนข้างสูง ต้องรอสักระยะให้มีของมากขึ้น ราคาถึงจะตกลงตามกลไกของตลาด

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช

โดยธรรมชาติกุ้งทุกชนิดชอบออกหากินในเวลาคืนไม่ชอบแสง ดังนั้นกลางวันอาจจะนอนหรือหลบทั้งวันจึงต้องการที่หลบซ่อนและปิดบังจุดที่กุ้งจะปีนหลบหนีได้ ยกเว้นกุ้งที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในบ้านเราจะคุ้นเคยกับการเลี้ยงและฝึกอาหาร มีก้ามเป็นอาวุธไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเอง กุ้งตัวผู้จะมีขนาดของก้ามที่ใหญ่โตสง่างามสีสรรสวยงามและแข็งแรงกว่ากุ้งตัวเมีย กุ้งเครฟิชจะอ่อนแอที่สุดเวลาลอกคราบมักจะถูกรุมทำร้ายหรือจับกินดังนั้นอาหารต้องพอเพียงตู้ต้องกว้างเพียงพอและมีที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย และแยกกันกินแยกกันอยู่หรืออาจจับคู่ในระยะสั้นๆ จึงไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายตัวในที่แคบๆ ส่วนมากจะกุ้งจะไม่จำว่าเป็นคู่ของมันถ้าหิวหรือลอกคราบอาจทำร้ายกันได้เสมอ

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช สามารถเลี้ยงได้ตู้เลี้ยงหรือในอ่างเลี้ยงกุ้งได้ ได้ดังนี้

  1. เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิชในภาชนะใดๆก็ได้ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดีไม่ร้อนเกินไปอุณหภูมิน้ำ ประมาณ  23 -28 องศา  อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้น้ำครึ่งตู้น้ำเต็มตู้ก็ได้หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอกุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1 ฟุต
  2. ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้งสายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกันเพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็กมักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน
  3. ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้กระถางดินเผากระถางต้นไม้แตกๆอุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรงหรือท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวันกุ้งใหญ่
  4. ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้
  • ปูหินกรอง
การเลี้ยงกุ้งเครฟิชในตู้เพื่อความสวยงามควรปูหินกรวดเล็กรองพื้นตู้ซึ่งมีมีประโยชน์ต่อกุ้งหลายประการคือ
  1. ทำให้กุ้งไม่ตื่นตกใจและมีสรรสวยงามมากขึ้นกุ้งสามารถปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมได้ถ้าเน้นหินสีดำหรือน้ำตาลจะทำให้กุ้งมีสีเข้มขึ้น
  2. กุ้งป่าส่วนมากจะขุดกรวดหินเป็นที่หลบซ่อน
  3. หินกรวดช่วยดูดซับตะกอนและเศษอาหารทำให้น้ำในตู้ใสอยู่เสมอ
  •  การให้อากาศและระบบกรองน้ำ
ถ้าเราเลี้ยงกุ้งแค่ตัวเดียวและมีพื้นที่กว้างและดูแลน้ำได้ดีไม่จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศก็ได้แต่ในระบบตู้เลี้ยงซึ่งเน้นความสวยงามและเลี้ยงกุ้งหลายตัวหรือกั้นตู้การให้อากาศยังจำเป้นอยู่มากแต่กุ้งใช้อากาศน้อยกว่าปลาสามารถใช้หัวทรายจุ่มลงในน้ำ  3-4 นิ้วกันฟุ้งหรือใช้กรองในตู้กรองแขวนกรองกล่องได้ยกเว้นกรองแผ่นพื้นจะโดนกุ้งขุดและกรองฟองน้ำอาจโดนกุ้งแทะเล่น
  • น้ำ
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28 องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 – 8.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้เล็กน้อย เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ด้วยสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละครั้งประมาณ 30 -50 %ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงและการให้อาหารแต่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ดี
  • การให้อาหารกุ้งเครฟิช
กุ้งเครฟิชกินอาหารได้แทบทุกชนิดนิสัยของกุ้งจะกินอาหารได้ทั้งวันแต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผักรากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลักในที่เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ

วิธีการเลือกซื้อกุ้งเครฟิช

วิธีการเลือกซื้อกุ้งเครฟิช ควรเลือกตามลักษณะต่อไปนี้
  1. เลือกกุ้งที่มีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ 2 ข้างขาเดินครบทั้ง 4 คู่
  2. มีเปลือกลำตัวแข็งไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบซึ่งร่างกายอ่อนแอ
  3. เลือกกุ้งที่แข็งแรงมีอาการตอบสนองป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเองหลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือพยายามปีนป่ายหนีเมื่อนำมาใส่ภาชนะ
  4. เลือกซื้อกุ้งคุณภาพจากร้านและฟาร์มที่ท่านไว้ใจ และสังเกตจากสภาพน้ำและภาชนะที่วางขาย
  5. กรณีที่เป็นกุ้งนำเข้าจากต่างประเทศควรได้รับการปรับสภาพพักและเปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป ( หายาก )

การเลี้ยงกุ้งเครฟิชร่วมกับสัตว์อื่น

สัตว์น้ำสำหรับตู้เลี้ยงเครฟิชเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างก้าวร้าวเนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ในธรรมชาติกุ้งเครฟิชจะจับปลา กุ้ง หอย และสัตว์น้ำอื่นๆ เป็นอาหารอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นในตู้เลี้ยงของเราจึงจำเป็นต้องใส่สัตว์ที่สามารถหลบหลีกเครฟิชได้อย่างว่องไวก็จะลดการสูญเสียได้ เช่น
  • ปลาหางนกยูง ผมเอาไว้ให้เก็บกินเศษอาหารที่เครฟิชพ่นออกมา เครฟิชเป็นสัตว์ฟันแทะ เวลากินจะมีเศษอาหารตกหล่นในกรณีที่อาหารไม่พอคำ ปลาหางนกยูงก็คอยจ้องกินอาหารอยู่ใกล้ๆ นั่นละ อาหารก็เลยไม่ตกค้างตามซอกหินบนพื้นตู้ นอกจากปลาหางนกยูงแล้ว ปลาสอดก็เหมาะสำหรับทำหน้าที่นี้แต่ตู้นาโนปลาหางนกยูงดูจะเหมาะกว่า
  • ปลาน้ำผึ้งเผือก อันนี้ไม่เกี่ยวกับเครฟิชโดยตรงแต่เพื่อให้ตู้ดูสะอาดเรียบร้อยไม่มีตะไคร่เกาะจะได้มองเห็นเครฟิชได้ชัดเจนอีกทั้งปลาน้ำผึ้งเผือกมีสีสวยและราคาไม่แพงหากว่าเกิดการสูญเสียขึ้นจะได้ไม่รู้สึกแย่ไปมาก
  • ปลาคาร์ดินัล อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเครฟิชโดยตรงเหมือนกันเลี้ยงไว้ดูเล่นรองจากเครฟิชเนื่องจากว่าเครฟิชชอบหลบอยู่แต่ในโพรงไม่ค่อยโผล่ออกมาแสดงตัวก็ได้คาร์ดินัลฝูงนี้เอาไว้ดูเล่นและปลาคาร์ดินัลก็เป็นปลากลางน้ำอยู่กันคนละส่วนกับเครฟิช คาร์ดินัลก็เลยปลอดภัยไม่ถูกเครฟิชจับกิน นอกจากปลาคาร์ดินัลแล้ว เราจะเลี้ยงปลาอื่นๆก็ได้ที่ไม่ดุร้ายไม่งั้นเวลาเครฟิชลอกคราบเครฟิชก็เป็นอาหารของปลาได้เหมือนกัน
  • หอยหมวกดำ เอาไว้กินตะไคร่น้ำกับเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกหินช่วยๆกันกับปลาน้ำผึ้ง หอยชนิดนี้มีแรงยึดเกาะสูงเครฟิชจับกินได้ลำบาก
การเลี้ยงกุ้งเครฟิชรวมกับสัตว์น้ำอื่นๆ ให้ทดลองเลี้ยงร่วมกันจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อทดสอบพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนใหญ่กุ้งเครฟิชเพศเมียก้าวร้าวน้อยกว่าเพศผู้ และกุ้งเครฟิชโตเต็มวัยก้าวร้าวน้อยกว่ากุ้งเครฟิชที่กำลังเติบโต และที่สำคัญตู้เลี้ยงต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะให้สัตว์น้ำอื่นๆ หลบเลี่ยงการไล่จับของกุ้งเครฟิชได้ด้วย
คำแนะนำ : การเลี้ยงรวมกันสัตว์ชนิดอื่น ต้องให้กุ้งตัวโตก่อน เพราะอาจจะถูกสัตว์ชนิดอื่นกินได้ ควรเลี้ยงกับสัตว์กินพืช

กุ้งเครฟิช

ไม้น้ำสำหรับตู้เลี้ยงกุ้งเครฟิช

กุ้งเครฟิชเป็นสัตว์ที่กินพืชได้สารพัดชนิดไม่ว่าจะใส่อะไรลงไป เช่น แครอท ข้าวโพด ผักกาด แตงกวา ข้าวสวย กุ้งเครฟิชจัดการกินซะเรียบ ฉะนั้นไม้น้ำไม่ว่าจะเป็นอะไรกุ้งเครฟิชจัดการเป็นอาหารได้ทั้งหมด และกุ้งเครฟิชเป็นช่างขุด ช่างรื้อถอนไม้น้ำอีกด้วย กุ้งเครฟิชกับตู้ไม้น้ำนี่คงไปด้วยกันไม่ได้ จะว่าไปแล้วก็พอจะเลี้ยงไม้น้ำร่วมกับเครฟิชได้บ้าง มีสาหร่ายเดนซ่า จอก สาหร่ายพุงชะโด และพลับพลึงธารจอก เป็นพืชลอยน้ำ มีรากยาวลงมาถึงกลางตู้ ใช้เพื่อลดพื้นที่โล่งๆ ในตู้ได้ดีทีเดียว
อีกอย่างหนึ่ง คือกุ้งเครฟิชเป็นสัตว์พื้นตู้ จอกก็เลยปลอดภัยจากการถูกกิน แต่ถ้าปล่อยให้กุ้งเครฟิชหิว รากอันงดงามของจอกก็เป็นอาหารของเครฟิชได้สาหร่ายเดนซ่า ใส่ไว้เพื่อเป็นอาหารเร่งสี เวลากุ้งเครฟิชอยากจะกินสาหร่ายเดนซ่าขึ้นมาก็จะดีดตัวไปเกาะสาหร่ายที่อยู่ผิวน้ำเอาได้ไม่ต้องถ่วง หรือปลูกลงกระถางสาหร่ายพุงชะโดใส่ไว้เพื่อความสวยงาม เวลาโดนกระแสน้ำแล้วขยับไปมาดูอ่อนช้อยน่าชมกว่าสาหร่ายเดนซ่ามากส่วนพลับพลึงธาร ไม่เกี่ยวกับกุ้งเครฟิชโดยตรง
ถ้าใส่สาหร่ายเดนซ่าไว้กุ้งจะเลือกกินสาหร่ายเป็นลำดับแรก พลับพลึงธารก็เลยปลอดภัย แต่ไม่ไว้ใจปลูกไว้ที่พื้นตู้มันเสี่ยงเกินไป ให้ปลูกไว้กลางตู้โดยใช้จุ๊บยางสูญญากาศจับลำต้นเอาไว้
การปลูกไม้น้ำในตู้กุ้งงเครฟิช ทำให้กุ้งเครฟิชและปลาต่างๆ มีความสุขมากขึ้น ไม่เครียด ขับสีสันได้ดีกว่าไม่มีไม้น้ำอยู่เลย แต่เราก็ต้องทำใจถ้าหากไม้น้ำถูกกุ้งเครฟิชกัดกินไปบ้างก็เป็นธรรมชาติของเขา ให้อาหารอย่างเพียงพอ ต้นไม้ก็จะปลอดภัยกว่า ไม้น้ำยังช่วยลดสารพิษในน้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย และได้ผลกว่าตู้ไม้น้ำเสียอีก ปกติตู้ไม้น้ำเราจะให้ปุ๋ยละลายน้ำหรือฝังดินไว้ ไม้น้ำก็จะได้รับสารอาหารจากปุ๋ยโดยไม่จำเป็นต้องกินจากของเสียในตู้ แต่ตู้กุ้งเครฟิชไม่ได้ให้ปุ่ยใดๆ จึงต้องดึงไนเตรทที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายพวกมูลสัตว์เพียงทางเดียวเท่านั้น ไม้น้ำก็ยังเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยแต่อย่างใด คนเลี้ยงก็สบายไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำกันบ่อยๆ

บทสรุป

การเลี้ยงกุ้งเครฟิชสามารถทำได้ง่ายๆ ตามวิธีดังกล่าว และยังต้องระวังช่วงที่กุ้งลอกคราบ จะเป็นช่วงที่กุ้งจะอ่อนแอที่สุด หากมีที่ซ่อนไม่มากพอก็อาจถูกตัวที่แข็งแรงกว่าจับกินได้ หรือถ้าเกิดการต่อสู้กันก็อาจทำให้ก้ามเบี้ยว เป็นตำหนิที่เห็นได้ชัด ทำให้ดูไม่สวยงามเท่าที่ควร ดังนั้นเลี้ยงน้อยๆ และดูแลดีๆ รับรองว่าสวยกว่า เลี้ยงก้งเครฟิชรวมกันเยอะๆ แน่นอน

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  dinningtonrugby.net
สนับสนุนโดย  ufabet369