กระต่าย พันธุ์ฮอลแลนด์ลอป ตัวอ้วนกลม ฉลาดแสนรู้ ที่ใครก็อยากเป็นเจ้าของ

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป จากเนเธอแลนด์ ถือเป็นสายพันธุ์ยอดฮิตเลยก็ว่าได้ เพราะความน่ารักของกระต่ายพันธุ์นี้คือหูที่ตกลงมาแนบแก้มป่องๆ ไม่ชี้ขึ้นเหมือนสายพันธุ์อื่นๆ กินจุ ตัวอ้วนกลม ปุกปุย น่ารักมากๆ ส่วนนิสัยบอกเลยว่าสุขุม ฉลาดแสนรู้ สามารถจดจำชื่อของตัวเองและเจ้าของได้อย่างแม่นยำ และขณะเดียวกันก็มีโลกส่วนตัวค่อนข้างสูง ยังต้องการเวลาที่จะได้รับการเอาใจใส่จากเจ้าของอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง บอกเลยว่าใครที่ได้เป็นเจ้าของฮอลแลนด์ลอป ต้องหลงรักความน่ารักหัวปักหัวปำแน่นอน

สิ่งที่ต้องเตรียมในการเลี้ยง กระต่าย

1. พื้นที่สำหรับเลี้ยงกระต่าย

กระต่ายนั้นเป็นสัตว์ที่ไม่ได้ต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงมากเท่าน้องหมาหรือน้องแมว สามารถเลี้ยงที่คอนโดหรือหอพักได้สบายใจหายห่วง แต่ถึงอย่างนั้นการมีพื้นที่ให้พวกกระต่ายได้วิ่งเล่นบ้างก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยลดความเครียดได้ ซึ่งหากใครที่เลี้ยงในคอก มีพื้นที่วิ่งเล่นอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหา แต่ใครที่เลี้ยงในกรง การเลือกขนาดกรงที่เหมาะสมคือ กะให้พอเจ้ากระต่ายยืนแล้วหูไม่ชนกับกรงด้านบน ส่วนความยาวของกรงให้ยาวประมาณ 3 เท่าของความยาวกระต่าย เพียงเท่านี้กระต่ายของเราก็จะไม่อึดอัดแล้ว

2. อาหารกระต่าย

หลายคนมักมีความเชื่อผิดๆ ว่ากระต่ายต้องกินผักบุ้ง, แครอท หรืออาหารเม็ดเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วอาหารหลักของกระต่ายคือหญ้าแห้งประมาณ 70 – 80% แล้วเสริมด้วยอาหารเม็ดประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนผักสดและผลไม้เรียกได้ว่าไม่จำเป็นเลยค่ะ แต่ถ้าใครอยากให้ก็อาจเสริมได้สัปดาห์ละครั้ง หรือให้ทานใบกะเพราเพื่อแก้อาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงอายุของกระต่ายด้วย เพราะชนิดของหญ้าแห้งที่ควรป้อนก็จะขึ้นอยู่กับอายุของน้องกระต่ายด้วย และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเลยก็คือน้ำ ต้องมีติดกรงไว้ตลอดเวลา และควรเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อนสุขภาพที่ดีของน้องกระต่าย

  • หญ้า

หญ้ามีหลายชนิดที่หาง่ายได้ทั่วไปก็คือ หญ้าขน สามารถจะไปตัดได้จากข้างทาง ลักษณะหญ้าขนก็คือ หญ้าที่เป็นขนๆ นอกจากหญ้าขนแล้วก็จะมีหญ้าอีกหลายๆ ชนิดที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด เช่น หญ้าtimothy หญ้าแพงโกล่าและหญ้าอัลฟาฟ่า โดยที่หญ้าแต่ละชนิดจะมีสารอาหาร ไม่เหมือนกัน หญ้าอัลฟาฟ่า จะมีโปรตีน และ แคลเซี่ยมสูงที่สุด เหมาะสำหรับกระต่ายที่กำลังเจริญเติบโต ที่อายุไม่ถึง 1 ปี หรือกระต่ายที่กำลังอุ้มท้อง ส่วนหญ้าอื่นๆ ก็ควรจะให้ เพราะว่า มีกากใย หรือไฟเบอร์สูง ส่วนหญ้าขนนั้น ให้เป็นอาหารเสริมไว้ในกรงได้เลย ให้กระต่ายกินทุกวันได้ก็จะยิ่งดี เพื่อรักษาสมดุล์ของระบบย่อยอาหาร เพราะว่าอาหารเม็ดมีกากใยไม่มากพอ ทำให้กระต่ายอ้วน ไม่แข็งแรง การกินกากใยไม่พอ ยังทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหา และเกิดอาการ กอนขนอุดตันอยู่ในท้อง หรือที่เรียกว่า Hairball ได้

  • ผักและผลไม้

เมื่อกระต่ายอายุน้อยๆ คืออายุต่ำกว่า 3 เดือนยังไม่ควรให้ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักที่มีน้ำมาก เพราะจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งภาวะท้องเสีย สำหรับกระต่ายนั้น ถือว่าอันตรายมาก เพราะว่ากระต่ายจะเสียน้ำและมีตายในเวลารวดเร็ว หลังจากกระต่ายอายุเกิน 3 เดือน เราสามารถจะเริ่มให้ผักผลไม้ได้ แต่ว่าควรจะค่อยๆ ให้แค่น้อยๆ ให้กระต่ายปรับตัวก่อน ผักที่กระต่ายกินได้ ก็เช่น แครอท บร็อคเคอรี่ ผักชีฝรั่ง เป็นต้น

  •  ขนม

ขนม หรือที่ฝรั่งนิยมเรียกเก๋ๆ ว่า Treat นั้น สามารถจะให้ได้ แต่ว่าไม่ควรให้บ่อยเกินไป ไม่ใช่ว่าให้กินขนมเป็นอาหารหลัก แบบนี้ไม่ถูก

  •  น้ำ

น้ำเป็นสิ่งจำเป็น ต้องมีน้ำสะอาดไว้ในกรงให้กระต่ายกินได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ควรจะใช้กระบอกน้ำเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี

3. โรคที่ควรระวังในกระต่าย

  • โรคฮีทสโตรก ถือว่าสำคัญมากที่ผู้เลี้ยงกระต่ายควรให้ความสำคัญ ซึ่งโรคนี้นั้นจะเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป จนกระต่ายระบายความร้อนไม่ทัน โดยน้องกระต่ายนั้นเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ทำให้สามารถระบายความร้อนได้แค่ทางใบหูเท่านั้น นอกจากอากาศที่ร้อนก็ยังมีอีกหลายปัจจัยเช่น เลี้ยงในพื้นที่ที่ไม่มีการระบายอากาศ วิธีป้องกันคือ ให้เลี้ยงในที่ที่มีอากาศถ่ายเท, ใส่น้ำดื่มไว้เยอะๆ, หาบ้านเย็นสำหรับกระต่าย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันโรคฮีทสโตรกได้มากทีเดียว
  • โรคฝี เกิดจากภาวะติดเชื้อใต้ผิวหนัง สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น โดนกัด, ฟันงอกยาวเกินไป, การทิ่มตำของวัสดุรองกรง หรือเล็บที่ยาวจนทิ่มเข้าไปในผิวหนัง ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะทำให้มีก้อนเนื้อบริเวณผิวหนัง พบบ่อยตรงใต้คาง, ขอบตา, ไหล่ และบริเวณกรามบนใบหน้า หากกระต่ายของใครที่มีอาการเบื่ออาหาร ซึม มีหนอง บวมอักเสบ ควรรีบพาไปหาหมอโดยด่วน
  • โรคฉี่เป็นเลือด เป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ มักมีอาการท้องป่อง และมีลิ่มเลือดปนออกมากับฉี่ มักไม่มีอาการซึมใดๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเม็ดสีที่เรียกว่าพอร์ไฟริน (Porphyrin) เนื่องจากดื่มน้ำน้อย อาการนี้ไม่เป็นอันตรายใดๆ และมักจะหายไปเองภายใน 2 วัน
  • โรคเห็บหมัด เห็บหมัดนั้นไม่ได้มีแค่ในน้องหมาหรือน้องแมว เพราะหากดูแลกระต่ายไม่ดี หรือชอบปล่อยให้วิ่งเล่นที่สนามหญ้าบ่อยๆ เจ้ากระต่ายก็อาจติดเห็บหมัดได้ โดยอาการก็จะเป็นผื่นแดง ผิวหนังแห้ง คันตามลำตัว หากพบเห็นว่าน้องมีเห็บหมัดหรือมีแผล ควรพาพบแพทย์เพื่อหยอดยา และรักษาต่อไป

กระต่าย

สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

  1. ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์
  2. ให้สัมผัสอย่างเบามือ
  3. ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ
  4. ควรให้อาหารที่เหมาะสม
  5. ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง

สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

  1. อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด
  2. อย่าให้อาหารประเภทขนมที่เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพราะจะเกิดผลเสียกับเขา
  3. อย่าเลี้ยงกระต่ายเป็นแฟชั่น ให้เลี้ยงเพราะว่าอยากจะเลี้ยง
  4. อย่าอาบน้ำให้กระต่ายบ่อยเกินไป ประมาณ 3-4 เดือน/ครั้งก็พอ
  5. หากที่บ้านมีแมว ไม่ควรเอาห้องน้ำแมวที่มีสารดับกลิ่นมาใช้กับกระต่าย ควรใช้ขี้เลื่อย หรือหนังสือพิมพ์แทน

วิธีการเลี้ยงกระต่ายในช่วงแรก

ใครที่เพิ่งรับน้องกระต่ายมาเลี้ยง แนะนำว่าควรเลือกกระต่ายที่มีอายุ 45 วันขึ้นไป หรือกระต่ายหย่านมแล้วจะดีที่สุด เพราะหากซื้อมาตอนที่ยังไม่หย่านม โอกาศรอดของกระต่ายจะต่ำมากเนื่องจากภูมิคุ้มกันยังคงอ่อนแออยู่ หากรับมาแล้วควรถามอาหารเดิมของกระต่ายว่าให้ยี่ห้อไหนอยู่ หรือขออาหารเดิมจากผู้ขายมาเลยก็ได้ เพราะไม่ควรเปลี่ยนอาหารกระทันหัน โดยระยะแรกให้อาหารชนิดเดิมไปก่อน พอครบ 3 วันก็ค่อยๆ ผสมอาหารตัวใหม่ลงไปประมาณ 20% และค่อยๆ เพิ่มจำนวนอาหารใหม่ขึ้นเรื่อยๆ จนครบ 7 วัน ในระว่างนี้ต้องคอยสังเกตน้องกระต่ายด้วยว่ามีอาการท้องเสียหรือท้องอืดหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

เมื่อปรับเรื่องอาหารแล้ว แนะนำว่า ในช่วง 7 วันแรกที่รับกระต่ายมาเลี้ยง ไม่ควรไปจับหรืออุ้มเล่น ควรปล่อยให้เขาอยู่ในกรงเพื่อปรับสภาพแวดล้อมและทำความคุ้นชินก่อน โดยให้ใส่อาหารและน้ำให้เพียงพอ ดูแลกรงและพื้นกรงให้สะอาด สังเกตอาการพื้นฐานของน้องๆ เช่น การหายใจ, ลักษณะอึ, ความร่าเริง หรือกินอาหารได้เยอะหรือไม่ ถ้าหากครบ 7 วันแล้ว กระต่ายมีอาการปกติ ร่าเริง และแข็งแรงดี ก็สามารถจับหรืออุ้มเล่นได้อย่างสบายใจ

สรุปแล้ว นอกจากความน่ารักของเจ้ากระต่าย ก่อนที่จะเลี้ยงน้องควรศึกษาวิธีการเลี้ยงให้ละเอียด รวมไปถึงค่าใช้จ่ายเวลารักษาพยาบาลด้วย  เพราะกระต่ายเป็นสัตว์พิเศษ ค่ารักษาก็ย่อมแพงกว่าสัตว์ทั่วไป ทั้งนี้ในเรื่องของความพร้อมก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมในเรื่องสถานที่เลี้ยง, การซื้ออาหาร หรือความพร้อมในเรื่องเวลา เพราะเห็นกระต่ายสันโดษแบบนี้ เขาก็มีมุมติดเจ้าของเช่นเดียวกัน ควรเล่นกับเขาให้มากๆ ให้ความรักและความเอาใจใส่เยอะๆ เพียงเท่านี้กระต่ายของเราก็จะสุขภาพดีทั้งกายและใจ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)

กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป มีอายุกี่ปี ?

  • มีอายุ 7-14 ปี

สามารถเลี้ยงกระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป รวมกับพันธุ์อื่นได้ไหม ?

  • สามารถเลี้ยงรวมกันได้

ราคา กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป เท่าไร ?

  • ราคาอยู่ที่ 500-3,000 บาท

ที่มา

https://bestreview.asia/how-to/popular-rabbit-breeds/

http://rtbcenter.com/new/th/2017/02/23/2333/

https://www.istockphoto.com/th/1255776937-367475258

https://www.istockphoto.com/th/1336898046-417982312

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  dinningtonrugby.net